[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
เมนูหลัก
Facebook
FacebookLink
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 4 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
สถิติผู้เยี่ยมชม

 เริ่มนับ 22/ต.ค../2558
ผู้ใช้งานขณะนี้ 1 IP
ขณะนี้
1 คน
สถิติวันนี้
1 คน
สถิติเมื่อวานนี้ี้
1 คน
สถิติเดือนนี้
19 คน
สถิติปีนี้
110 คน
สถิติทั้งหมด
222266 คน
IP ของท่านคือ 10.254.0.2
(Show/hide IP)
poll

   ระบุวัตถุประสงค์การดาวน์โหลดเอกสารท่านนำไปใช้งานด้านใด


  1. การวิจัย
  2. การเรียนการสอน
  3. การปฏิบัติงาน
  4. การเผยแพร่
  5. ความรู้ ความสนใจ
  6. การตัดสินใจเชิงนโยบาย
  7. การวางแผนธุรกิจ




  
รายการ Gallery หน้าหลัก    
วันที่ 8 พฤศจิกายน 2561 ( 29/พ.ย./2561 )
    วันที่ 8 พฤศจิกายน 2561 รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรนภา พรหมมา ที่ปรึกษาศูนย์บูรณาการพันธกิจสมพันธ์ ร่วมประชุมกับ นางสาวจีรภา ดามัง รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา อาจารย์ ดร.สุดารัตน์ รอดบุญส่ง ผู้ช่วยคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณะดำเนินงาน เพื่อหารือแนวทางการดำเนินโครงการยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ภายใต้โครงการศาสตร์พระราชา  ณ ห้องประชุมศูนย์บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

วันที่ 7 พฤศจิกายน 256(2) ( 29/พ.ย./2561 )
    วันที่ 7 พฤศจิกายน 2561 รองศาสตราจารย์ ดร.สุภาวิณี สัตยาภรณ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ร่วมประชุมสรุปผลเวทีการนำเสนอข้อเสนอโครงการวิจัยวทีนำเสนอข้อเสนอโครงการวิจัยท้าทายไทย ปี 2 ภายใต้โครงการการพัฒนานวัตกรรมรูปแบบการสร้างรายได้ด้วยเกษตรมูลค่าสูงจากระบบวนเกษตรบนทิวเขาผีปันน้ำตะวันออกในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์ บนวิถีการอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้อย่างยั่งยืน กลุ่มเรื่องนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาพื้นที่ ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2561 ที่ผ่านมา และเตรียมความพร้อมการนำเสนอประเด็น การพัฒนาระบบฐานข้อมูล และการประเมินผลกระทบของโครงการในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2561 ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 15 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) กับ อาจารย์ ดร.กิตติ เมืองตุ้ม และคณะอาจารย์นักวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ณ ห้องประชุมศูนย์บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2561 ( 29/พ.ย./2561 )
    วันที่ 7 พฤศจิกายน 2561 รองศาสตราจารย์ ดร.สุภาวิณี สัตยาภรณ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรนภา พรหมมา ที่ปรึกษาศูนย์บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์ อาจารย์ ดร.เสถียรภัคณ์ มุขดี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมหารือแนวทางการดำเนินงานตามโครงการยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ภายใต้โครงการศาสตร์พระราชา ประจำปีงบประมาณ 2562 โดยมี นายเจริญ นาคปิ่น ผู้อำนวยการแผนและงบประมาณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์ คุณปัทมาวดี สุปิญญา หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน คุณพรศิริ ยังมี นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ สำนักงานจังหวัดอุตรดิตถ์ ร่วมหารือแรกเปลี่ยนในการประชุมครั้งนี้ด้วย ณ ห้องประชุมศูนย์บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2561 ( 29/พ.ย./2561 )
    วันที่ 5 พฤศจิกายน 2561 รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรนภา พรหมมา ที่ปรึกศูนย์บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์ อาจารย์ ดร.เสถียรภัคณ์ มุขดี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และคณะดำเนินงานโครงการการพัฒนาระบบบริหารงานวิจัยสู่ความเป็นเลิศเพื่อพัฒนาสังคม ชุมชนท้องถิ่น และตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน มรภ.-สกว. เข้าร่วมประชุมเตรียมเวที 2 ร่วมกับ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยกิจกรรมในการประชุมในครั้งนี้ได้มีการกำหนดเป้าหมายและออกแบบกำหนดการประชุมเวที 2 และการนำเสนอในงานราชภัฏวิจัยครั้งที่ 5 ที่จะจัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี  ณ ห้องประชุมสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

วันที่ 30 ตุลาคม 2561 ( 29/พ.ย./2561 )
    วันที่ 30 ตุลาคม 2561 รองศาสตราจารย์ ดร.สุภาวิณี สัตยาภรณ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ อาจารย์ ดร.เสถียรภัคณ์ มุขดี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมประชุมกับคณะกรรมการหน่วยจัดการงานวิจัยและพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ โดยภายในการประชุมมีวาระแจ้งเพื่อทราบ ได้แก่ 1.รายชื่อผู้นำบุคลากรวิจัยเชิงพื้นที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 2.เวทีคืนข้อมูลโครงการกระบวนการวิจัยเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากด้วยผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ของจังหวัดอุตรดิตถ์สู่การต่อยอดเชิงพาณิชย์ : กรณีศึกษาลางสาดจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่จะจัดขึ้นวันที่ 21 พฤศจิกายน 2561 3.งานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ the 4th “AsiaEngage Regional Conferrence (AE)2018” วันที่ 26-28 พฤศจิกายน 2561 ณ โรงแรมดิเอ็มเพลส จังหวัดเชียงใหม่ และ 4.ขอความอนุเคราะห์เก็บแบบประเมิน EDGE Tool และวาระเพื่อพิจารณา คือ แนวทางการดำเนินงานตามโครงการยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนภายใต้โครงการศาสตร์ของพระราชา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562  การประชุมครั้งนี้จัดขึ้น ณ ห้องประชุมพิชัยพรรณ ชั้น 3 อาคารเรือนต้นสัก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
ภาพ/ข่าว ศูนย์บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

วันที่ 29 ตุลาคม 2561 ( 29/พ.ย./2561 )
    วันที่ 29 ตุลาคม 2561 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เรืองเดช วงศ์หล้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์พร้อมด้วยคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ร่วมให้การต้อนรับ นายพิภัช ประจันเขตต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย รองผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) อาจารย์สุปราณี จงดีไพศาล ผู้ทรงคุณวุฒิ สกว. และหัวหน้าหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ในเวทีนำเสนอข้อเสนอโครงการวิจัยท้าทายไทย ปี 2 ภายใต้โครงการการพัฒนานวัตกรรมรูปแบบการสร้างรายได้ด้วยเกษตรมูลค่าสูงจากระบบวนเกษตรบนทิวเขาผีปันน้ำตะวันออกในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์ บนวิถีการอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้อย่างยั่งยืน กลุ่มเรื่องนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาพื้นที่ โดยการนำเสนอในเวที มีการนำเสนอชุดโครงการวิจัย จำนวน 4 ชุดโครงการได้แก่  1.ชุดโครงการ“การพัฒนา Bigdata จังหวัดอุตรดิตถ์สำหรับแจ้งเตือนภัยพิบัติและเฝ้าระวังติดตามโรคพืช” 2.ชุดโครงการ “การพัฒนาและยกระดับรูปแบบการจัดการโซ่อุปทานพืชเศรษฐกิจระบบวนเกษตร” 3.ชุดโครงการ “การจัดการฐานทรัพยากรธรรมชาติในระบบวนเกษตรด้วยเกณฑ์ทางกายภาพและชีวภาพ” และ 4.ชุดโครงการ “การสร้างกลไกกติการการอนุรักษ์ป่าไม้จากการรวมกลุ่มในระดับชุมชน” ซึ่งประกอบด้วยโครงการย่อยจำนวนทั้งสิ้น 16 โครงการ การประชุมครั้งนี้จัด ณ ห้องประชุมพิชัยสงคราม ชั้น 4 อาคาร ICIT มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
ภาพ/ข่าว ศูนย์บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

วันที่ 21 กันยายน 2561 ( 29/พ.ย./2561 )
    วันที่ 21 กันยายน 2561 รองศาสตราจารย์ ดร.สุภาวิณี สัตยาภรณ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ พร้อมด้วย อาจารย์ ดร.เสถียรภัคณ์ มุขดี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาและคณะผู้บริหาร ร่วมประชุมกับ อาจารย์นักวิจัย ชุดโครงการการพัฒนานวัตกรรมรูปแบบการสร้างรายได้ด้วยเกษตรมูลค่าสูงจากระบบวนเกษตรบนทิวเขาผีปันน้ำตะวันออกในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์ บนวิถีการอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้อย่างยั่งยืน (ท้าทายไทย) และ  โครงการกระบวนการวิจัยเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากด้วยผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ของจังหวัดอุตรดิตถ์สู่การต่อยอดเชิงพาณิชย์ : กรณีศึกษาลางสาดจังหวัดอุตรดิตถ์ (Signature) เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการทำงาน และร่วมวางแผนการดำเนินงานวิจัย ณ ห้องประชุมศูนย์บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์ อาคารเรือนต้นสัก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

วันที่ 18 กันยายน 2561 ( 29/พ.ย./2561 )
    วันที่ 18 กันยายน 2561  รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรนภา พรหมมา  ผู้ช่วยศาสตราจารย์จรูญ คำทิพย์ ที่ปรึกษาศูนย์บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์ อาจารย์ ดร.เสถียรภัคณ์ มุขดี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ร่วมประชุมกับหัวหน้าหน่วยจัดการงานวิจัยและพันธกิจสัมพันธ์ ในการประชุมการประชุมคณะกรรมการหน่วยจัดการงานวิจัยพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ โดยมีเรื่องแจ้งเพื่อทราบ ได้แก่1.1 โครงการสนับสนุนด้านวิชาการของภาคีเครือข่ายสุขภาวะภาคเหนือ 1.2 โครงการวิจัยสู่ความเป็นเลิศเพื่อพัฒนาสังคม ชุมชนท้องถิ่นภายใต้ความร่วมมือ มรภ.-สกว. วันที่ 3 - 4 ตุลาคม 2561 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร 1.3 การประชุมวิชาการระดับชาติ และนานาชาติ “ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 5 ” วันที่ 2 - 5 ธันวาคม 2561 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี และเรื่องเพื่อพิจารณา 1 รายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานโครงการประเมินสถานภาพองค์ความรู้สู่การพัฒนาจังหวัดอุตรดิตถ์ และเตรียมข้อมูลเพื่อการนำเสนอผลการปฏิบัติงานต่อกรรมการชี้ทิศทาง (เวทีพัฒนาประเด็นและโจทย์เพื่อการวิจัยและพัฒนาเชิงพื้นที่) และ การเสริมสมรรถนะการเขียนบทความวิจัย  ณ ห้องประชุมศูนย์บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์ อาคารเรือนต้นสัก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
 

วันที่ 11 กันยายน 2561 ( 29/พ.ย./2561 )
    วันที่ 11 กันยายน 2561 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เรืองเดช วงศ์หล้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ พร้อมด้วย อาจารย์ ดร.เสถียรภัคณ์ มุขดี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และคณะผู้บริหาร ให้การต้อนรับและเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ ‘’เพื่อสานพลัง สถาบันวิชาการเชื่อมโยงการทำงานร่วมกับกลไกเครือข่ายสุขภาวะภาคเหนือ’’ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมระบบและกลไกวิชาการร่วมกับเครือข่ายภาคีภาคเหนือ เพื่อกำหนกทิศทางและออกแบบกระบวนการทำงานและเพื่อกำหนดทิศทางและยกร่างแผนพัฒนาเครือข่ายร่วมกัน โดยการประชุมในครั้งมีผู้เข้าร่วมประชุม นายประดิษฐ์ นิจไตรรัตน์ สำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ (สภส.) แกนนำระดับประเด็น 5 ประเด็น ประกอบด้วย น.ส.นฤนาถ เครือชัยแก้ว แกนนำเครือข่ายอาหารที่พอเพียง อย่างปลอดภัย และเข้าถึงอย่างมั่นคง ดร.มาโนช ชายครอง แกนนำชุมชนจัดการตนเองบนฐานสังคมและวัฒนธรรมล้านนา คุณศุภกิจ  คงเปี่ยม แกนนำเครือข่ายการจัดการปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ นายปณชัย จันตา แกนนำเครือข่ายเหลียวหลัง แลหน้า เสริมคุณค่าสร้างความมั่นคงชีวิตบนฐานพหุชาติพันธุ์และนายมานพ ไชยคำบัว แกนนำเครือข่ายกินอยู่ ฮู้ฮัก รักษ์สิ่งแวดล้อม และแกนนำ 8 จังหวัดภาคเหนือ  ประกอบด้วย นายรอน  ใจกันทา แกนนำจังหวัดแม่ฮ่องสอน นายศานต์ภิสิทธิ์ ปัญญาทิพย์ แกนนำจังหวัดเชียงใหม่ นายสมัย รัตนจันทร์ แกนนำจังหวัดเชียงราย นายนพดล พรหมรักษา แกนนำจังหวัดน่าน นายเชิดพงษ์  แก้วเอ้ย แกนนำจังหวัดแพร่ นางสาวกัญญารัตน์ สุริยะวงค์ แกนนำจังหวัดลำพูน น.ส ศิริพร ปัญญาเสน แกนนำจังหวัดลำปาง และครูมุขดา อินต๊ะสาน แกนนำจังหวัดพะเยา   ในการประชุมครั้งนี้จัดขึ้น ณ ห้องประชุมพิชัยสงคราม ชั้น 4 อาคาร ICIT มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
ภาพ/ข่าว ศูนย์บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

วันที่ 6 กันยายน 2561 ( 29/พ.ย./2561 )
    (6 กันยายน 2561) ณ ห้องประชุมเดอะพอร์ทอล บอลรูม ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี  สถาบันวิชาการคู่ความร่วมมือ ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ 5 แห่งและอปท.คู่ความร่วมมือ จัดกิจกรรมเพื่อนำเสนองานวิจัยเชิงพื้นที่โดยสถาบันวิชาการคู่ความร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่น ระหว่างวันที่ 5-7 กันยายน 2561 ภายใต้ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่โดยเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และอปท.คู่ความมือ ดำเนินการขับเคลื่อนงานเชิงพื้นที่ (Area Based) เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นภายใต้แนวคิด  “มหาวิทยาลัยคู่ความร่วมมือของชุมชนท้องถิ่น” ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามบพระบรมราโชวาทระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560 – 25479) โดยน้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 10) “ต้องวิเคราะห์และรับทราบปัญหาและความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นด้วย  เมื่อตกลงกันแล้วให้นำยุทธศาสตร์ใหม่มาพัฒนาใช้และให้ปรับให้เหมาะสมตามสภาพและประเพณีท้องถิ่น” โดยกำหนดยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนงานไว้ 4 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาท้องถิ่น ด้านการผลิตและพัฒนาครู ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา และด้านการพัฒนาระบบบริหารจัดการและเชื่อมโยงแนวคิดงานพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม (Engagement University) มุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อท้องถิ่น สนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ นวัตกรรม สนับสนุนกระบวนการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาและยกระดับ และสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือตามบริบทของแต่ละมหาวิทยาลัย
การดำเนินงานทำให้แต่ละมหาวิทยาลัยมีโอกาสพัฒนาระบบบริหารงานวิจัยและพัฒนาวิชาการเพื่อชุมชนท้องถิ่น โดยออกแบบการดำเนินงานผ่านกลไกเชิงระบบของสองหน่วยงาน คือ สถาบันวิจัยและพัฒนา (สวพ.) ที่เป็นกลไกหลักของมหาวิทยาลัย กับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่กลไกหลักในพื้นที่ โดยใช้งานวิจัยเป็นฐานภายใต้พันธกิจ นโยบาย ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญของหน่วยงานดำเนินงานตามบทบาทหน้าของตนเองโดยมีเป้าหมายร่วมกันคือการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น โดยมีเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ 5 แห่ง จาก 4 ภูมิภาค และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นคู่ความร่วมมือ 210 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศนำร่องดำเนินงาน โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างคน สร้างงาน สร้างเครือข่าย กับมหาวิทยาลัยและภาคีจากทุกภูมิภาค ให้เกิดกลไกเชิงระบบที่พัฒนาชุมชนท้องถิ่นต่อเนื่องโดยใช้งานวิจัยเป็นเครื่องมือเชื่อมประสานสร้างคน สร้างการเรียนรู้            สร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมการบริหารงานวิจัยและพันธกิจสัมพันธ์ ให้กับมหาวิทยาลัยและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยนั้น ๆ ร่วมกันกำหนดโจทย์วิจัยและพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยตามความต้องการของชุมชนท้องถิ่นคู่ความร่วมมือ ตามขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้ 1) Research Mapping มหาวิทยาลัยร่วมอปท.วิเคราะห์ปัญหาและประเด็นปัญหาเร่งด่วนเลือกตามความต้องการของพื้นที่เพื่อกำหนดปัญหาและเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยร่วมกันอย่างน้อย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แห่งละ 2 เรื่อง 2) Research Program/Research Project มหาวิทยาลัยร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดทำแผนและดำเนินการวิจัยร่วมกัน และ 3) Public Policy นำผลวิจัยไปใช้ในการแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่นและพัฒนาเป็นนโยบายสาธารณะร่วมกัน
ผลการดำเนินงานช่วยให้เกิดการสร้างคน สร้างงาน สร้างเครือข่าย การทำงานเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่หนุน เสริมการขับเคลื่อนงานของกันและกัน เกิดกระบวนการเรียนรู้ ร่วมกันของมหาวิทยาลัยกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและ ภาคีสองหน่วยงานที่นำ ไปสู่กลไกชุมชนจัดการเรียนรู้สู่สุขภาวะ ที่เป็นกลไกเชิงระบบพัฒนาต่อเนื่อง สำหรับกิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย เวทีสร้างความรู้ ความเข้าใจ สถาบันความร่วมมือ ชุมชนท้องถิ่น สสส. การนำเสนอผลงานวิจัยเชิงพื้นที่ทั้งภาคบรรยายและนิทรรศการ จำนวน 428 เรื่อง แบ่งเป็น 5 ประเด็น คือ ประเด็นเศรษฐกิจ 108 เรื่อง ประเด็นอาหารปลอดภัย 45 เรื่อง ประเด็นการดูแลสุขภาพ 81 เรื่อง ประเด็นการจัดการขยะ 118 และประเด็นการพัฒนาเด็กและเยาวชน 46 เรื่อง และเวทีสะท้อนมุมมองการดำเนินงานและแนวทางการขับเคลื่อนงานสถาบันวิชาการคู่ความร่วมมือชุมชนท้องถิ่น โดยมุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รูปธรรมผลงานที่เกิดขึ้นของเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 5 แห่งจะเป็นต้นแบบการเรียนรู้และส่งผลให้เกิดกลไกเชิงระบบ ในการพัฒนาแผนที่ทิศทางการวิจัย ชุดโครงการวิจัยสู่การใช้ ประโยชน์เกิดการยกระดับคุณภาพและขยายผลสู่รูปแบบพันธกิจ สัมพันธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏกับสังคม หรือ ราชภัฏโมเดล ที่ ได้จากประสบการณ์ปฏิบัติงานแบบมีส่วนร่วมที่มีรูปธรรมผล งานสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ทั้งของมหาวิทยาลัยราชภัฏ และภาคีเครือข่ายทุกภูมิภาคทั่วประเทศ
 

กำลังแสดงหน้าที่ <- 3/41 -> [จำนวน 408 อัลบัม]
<< 1 2 3 4 5 6 7 8 9 >>