[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
เมนูหลัก
Facebook
FacebookLink
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 4 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
สถิติผู้เยี่ยมชม

 เริ่มนับ 22/ต.ค../2558
ผู้ใช้งานขณะนี้ 1 IP
ขณะนี้
1 คน
สถิติวันนี้
1 คน
สถิติเมื่อวานนี้ี้
1 คน
สถิติเดือนนี้
29 คน
สถิติปีนี้
89 คน
สถิติทั้งหมด
222245 คน
IP ของท่านคือ 10.254.0.2
(Show/hide IP)
poll

   ระบุวัตถุประสงค์การดาวน์โหลดเอกสารท่านนำไปใช้งานด้านใด


  1. การวิจัย
  2. การเรียนการสอน
  3. การปฏิบัติงาน
  4. การเผยแพร่
  5. ความรู้ ความสนใจ
  6. การตัดสินใจเชิงนโยบาย
  7. การวางแผนธุรกิจ




  
รายการ Gallery หน้าหลัก    
18 กรกฏาคม 2560 เทิง ( 18/ก.ค./2560 )
    18 กรกฏาคม 2560
เมื่อวันที่ 13 – 14 กรกฏาคม 2560 ที่ผ่านมา  คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรนภา  พรหมมา ที่ปรึกษาศูนย์บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์ อาจารย์ประพันธ์  แจ้งเอี่ยม ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมด้วยนักวิจัยทั้ง 4 แผนงานภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับภาคีเครือข่ายเจดีย์ชัย ในเวทีการจัดประชุมคณะกรรมการทบทวนโครงสร้างการบริหารจัดการตนเองศูนย์จัดการเครือข่ายตำบลเจดีย์ชัย โดยมีผู้เข้าร่วมจากทั้ง 21 อปท. ของเครือข่ายเจดีย์ชัย ร่วมการเสวนา ทบทวนความก้าวหน้า “ท้องถิ่นบริหารจัดการด้วยภาคีเครือค่าย สู่การจัดการเครือข่ายสุขภาวะ” หนุนเสริมนวัตกรรมและองค์ความรู้ทั้ง 21 อปท. ณ ห้องประชุม เทศบาลตำบลเวียงเทิง อ.เทิง จ.เชียงราย
ภาพ / ข่าว : ศูนย์บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 
วันที่ 13 กรกฎาคม 2560 ( 13/ก.ค./2560 )
    วันที่ 13 กรกฎาคม 2560
วันที่สองของการศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลไก ระบบการขับเคลื่อนงานเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านพันธกิจสัมพันธ์กับสังคม Engagement University ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร นำโดย ผศ.ดร.ณรงค์ศักดิ์ จักรกรณ์ และคณะอาจารย์ โดยวันนี้ทางคณะได้ศึกษา“กระบวนการพัฒนาโจทย์วิจัยจากท้องถิ่น”ของคณะครุศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหน่วยจัดการงานวิจัยแต่ละคณะและตัวแทนจากพื้นที่ รวมถึงการลงพื้นที่เพื่อศึกษาตัวอย่างโครงการที่ประสบผลสำเร็จแล้วเพื่อเป็นกรณีศึกษาในการวางแผนจัดการเพื่อพัฒนาโจทย์วิจัยให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ในการทำวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครต่อไป
ภาพ/ข่าว : ศูนย์บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
วันที่ 12 กรกฎาคม 2560 ( 12/ก.ค./2560 )
    วันที่ 12 กรกฎาคม 2560
ผศ.ดร.เรืองเดช  วงศ์หล้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ร่วมด้วยอาจารย์ปิยวรรณ ปาลาศ ผู้ช่วยอธิการบดีฯ รศ.ดร.สุภาวิณี สัตยาภรณ์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดร.เสถียรภัคณ์ มุขดี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา รองผู้อำนวยการฯ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฯ หัวหน้าหน่วยจัดการงานวิจัยแต่ละคณะและผู้อำนวยการแผนงาน ทั้ง 4 แผนงาน ของโครงการวิจัยและพัฒนาชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์  ร่วมต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร นำโดย ผศ.ดร.ณรงค์ศักดิ์ จักรกรณ์ และคณะอาจารย์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี นำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฯ และคณะอาจารย์  เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลไกและระบบการขับเคลื่อนงานเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านพันธกิจสัมพันธ์กับสังคม Engagement University รวมถึงการขับเคลื่อนงานของหน่วยจัดการงานวิจัยระดับคณะ และการปฏิบัติการกลุ่ม “ถอดระบบบริหารจัดการงานวิจัยพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครกับสังคม” โดยมีทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ร่วมเป็นวิทยากร
ณ ห้องพิชัยนที อาคาร ICIT มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
ภาพ/ข่าว : ศูนย์บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
วันที่ 11 กรกฏาคม 2560 ประชุมเตรียมการไปเทิง ( 11/ก.ค./2560 )
    วันที่ 11 กรกฏาคม 2560  ประชุมเตรียมการไปเทิง
รศ.ดร.ฉัตรนภา พรหมมา ที่ปรึกษาศูนย์บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์ ร่วมประชุมกับผู้อำนวยการทั้ง 4 แผนงานในการเตรียมการประเมินเสริมพลังองค์กรชุมชนจัดการตนเองเพื่อสุขภาวะเชิงสร้างสรรค์ ที่จะจัดขึ้นในเวทีประชุมกรรมการทบทวนโครงสร้างการบริหารจัดการตนเอง ศูนย์จัดการเครือข่ายตำบลเจดีย์ชัย ในวันที่ 13 – 14 กรกฏาคม 2560 ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลเวียงเทิง อ.เทิง จ.เชียงราย
ภาพ/ข่าว : ศูนย์บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
วันที่ 11 กรกฏาคม 2560 ( 11/ก.ค./2560 )
    วันที่ 11 กรกฏาคม 2560 
ดร.เสภียรภัคณ์ มุขดี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา อาจารย์ ดร.รัชดา คำจริง อาจารย์ ดร.กิตติ เมืองตุ้ม นางจีรภา ดามัง รองผู้อำนวยการและ อาจารย์ประพันธ์ แจ้งเอี่ยม ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมประชุมหาแนวทางการปฏิบัติงาน เพื่อวางแผนดำเนินโครงการ “การพัฒนากลไกสนับสนุนเครือข่ายจิตอาสาประชารัฐจังหวัดเสริมสร้างสังคมสุขภาวะ พ.ศ.2560 จังหวัดอุตรดิตถ์” ณ ห้องผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
ภาพ/ข่าว : ศูนย์บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
วันที่ 7 กรกฏาคม 2560 หาดเค็ด ( 7/ก.ค./2560 )
    วันที่ 7 กรกฏาคม 2560
ทีมวิจัยแผนงานเกษตรกรรมยั่งยืน โดยโครงการอาจารย์ชวลิต รักษาริกรณ์ และอาจารย์วราภรณ์ ภู่ภักดีพันธ์ พร้อมนักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ ภายใต้แผนงานวิจัยระบบเกษตรกรรมปลอดภัยเพื่อการพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน โครงการวิจัยและพัฒนาชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์  โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมลงพื้นที่ร่วมกับกลุ่มชาวบ้านหาดเค็ด ตำบลเมืองจัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน เพื่อพัฒนาระบบผลิตทางการเกษตรปลอดภัยเพื่อการพึ่งตนเองอย่างยั่งยืนแบบมีส่วนร่วม
ภาพ/ข่าว : แผนงานวิจัยระบบเกษตรกรรมปลอดภัยเพื่อการพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน
วันที่ 7 กรกฏาคม 2560 เมืองจัง ( 7/ก.ค./2560 )
     วันที่ 7 กรกฏาคม 2560
เมื่อวันที่ 5  กรกฏาคม 2560 การลงพื้นที่เก็บข้อมูลการจัดการเมล็ดพันธุ์ของเกษตรกรแปลงใหญ่ :โครงการวิจัยการศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดการเมล็ดพันธ์ท้องถิ่นเพื่อการพึ่งพาตนเองของเกษตรกรเครือข่ายสู่วิถีการเกษตรปลอดภัย แผนงานวิจัยระบบเกษตรกรรมปลอดภัยเพื่อการพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน  ภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์  โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นำโดยหัวหน้าโครงการ อ.วรรณี ทองระย้า อ.จิราภรณ์ ภู่เทศ และ นักศึกษาเอกการพัฒนาชุมชน 3 คน ลงพื้นที่ อบต. เมืองจัง มีประเด็นงานที่ได้พูดคุยกับทางกลุ่มสรุปประเด็นดังนี้
1.สมาชิกกลุ่มมีเมล็ดพันธุ์เป็นของตัวเองที่นอกเหนือจากเมล็ดพันธุ์ข้าว โดยเฉพาะเมล็ดพันธุ์ผัก
2.สมาชิกกลุ่มเห็นความสำคัญของงานวิจัยและอยากเรียนรู้ร่วมกันโดยเสนอว่า ให้สร้างกระบวนการเรียนรู้งานเมล็ดพันธุ์ ผักเนื่องจากมีวงรอบของการเพาะปลูก 3-4 เดือน ซึ่งจะทำให้กระบวนการเรียนรู้ในการจัดเก็บเมล็ดพันธุ์รูปแบบต่างๆที่สมบูรณ์ขึ้น โดยเสนอให้มีแปลงปลูกร่วมในพื้นที่นารวม
3.อยากให้ทางทีมวิจัยเสริมเรื่ององค์ความรู้ในการจัดเก็บ การบริหารจัดการและเรื่องของปุ๋ย ฮอร์โมนเสริม จุลินทรีย์ฯลฯ อุปกรณ์ ถังหมัก 100 ลิตร จำนวน 6 ถัง
ภาพ/ข่าว : แผนงานวิจัยระบบเกษตรกรรมปลอดภัยเพื่อการพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน  
วันที่ 30 มิถุนายน 2560 ( 30/มิ.ย./2560 )
    วันที่ 30 มิถุนายน 2560
การนำเสนอความก้าวหน้าผลการขับเคลื่อนงานวิจัยและพัฒนาชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ต่ออธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเครือข่าย 10 แห่ง โดยคณะทำงานโครงการวิจัยและพัฒนาของเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี และมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ทั้งนี้ อธิการบดี ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะผู้บริหารและผู้ดำเนินงานโครงการฯ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อเสนอแนะเพื่อการขับเคลื่อนงานร่วมกันของเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยโครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ณ ห้องประชุมราชนครินทร์ ชั้น 5 อาคาร 100 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์  ในพระบรมราชูปถัมภ์
ภาพ/ข่าว : ศูนย์บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
วันที่ 29 มิถุนายน 2560 ช่วงเช้า ( 29/มิ.ย./2560 )
    วันที่ 29 มิถุนายน 2560
การประชุมคณะกรรมการบริหารชุดโครงการวิจัยและพัฒนาชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดการความรู้เพื่อเสริมพลังการขับเคลื่อนงานของเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ 10 แห่ง   โดยได้รับเกียรติจากท่านอธิการบดี รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี พร้อมด้วยผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา คณะผู้บริหาร อาจารย์ และคณะนักวิจัย  ของเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่ม 1 และเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่ม 2 ทั้ง 10 แห่ง  ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มหาวิทยาลัยราชภัฏเลยและมหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมป์ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนและให้ข้อเสนอแนะการดำเนินงาน
ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ มีดังนี้
-          แนวทางการสังเคราะห์ระบบและกลไกการสนับสนุนงานวิจัยสู่การเป็น “มหาวิทยาลัยพันธกิจสัมพันธ์กับสังคม”
-          แนวทางการสังเคราะห์องค์ความรู้ ชุดความรู้ และนวัตกรรมเพื่อการต่อยอดและพัฒนาเป็นข้อเสนอนโยบายสาธารณะระดับภูมิภาคหรือภูมินิเวศ และระดับประเทศ 
-          ระบบฐานข้อมูลเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่
จัดขึ้นในวันที่ 29-30 มิถุนายน 2560  ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
โดยการ สนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
27 มิถุนายน 2560 ( 29/มิ.ย./2560 )
    27 มิถุนายน 2560
ผศ.ดร.เรืองเดช  วงศ์หล้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ อาจารย์ปิยวรรณ  ปาลาศ  ผู้ช่วยอธิการบดีฯ ดร.เสถียรภัคณ์  มุขดี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมด้วยรองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และคณะผู้บริหารแต่ละคณะ ร่วมให้การต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี นำโดย ผศ.พจนารถ  บัวเขียว รองอธิการบดีและคณะผู้บริหาร ในการเดินทางมาเพื่อศึกษาดูงานด้านพันธกิจสัมพันธ์กับสังคมของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์  ณ ห้องประชุมพิชัยพรรณ ชั้น 3 อาคาร 12 สถาบันวิจัยและพัฒนา และในช่วงบ่ายได้เดินทางไปศึกษาดูงานที่ชุมชนต้นแบบ ณ วิทยาลัยวัววิทยา บ้านห้วยบง ต.ป่าเซ่า จังหวัดอุตรดิตถ์  โดยมี รศ.ดร.สุภาวิณี  สัตยาภรณ์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมด้วยคณะผู้บิหารคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนายวินัย เอี่ยมสกุล นายกเทศมนตรีตำบลป่าเซ่า ร่วมด้วยแกนนำชุมชน(หมู่บ้านนิรชราและหมู่บ้านโขยด) ให้การต้อนรับ
ภาพ/ข่าว : ศูนย์บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
 
กำลังแสดงหน้าที่ <- 18/41 -> [จำนวน 408 อัลบัม]
<< 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 >>