[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
เมนูหลัก
Facebook
FacebookLink
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 4 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
สถิติผู้เยี่ยมชม

 เริ่มนับ 22/ต.ค../2558
ผู้ใช้งานขณะนี้ 1 IP
ขณะนี้
1 คน
สถิติวันนี้
1 คน
สถิติเมื่อวานนี้ี้
1 คน
สถิติเดือนนี้
29 คน
สถิติปีนี้
89 คน
สถิติทั้งหมด
222245 คน
IP ของท่านคือ 10.254.0.2
(Show/hide IP)
poll

   ระบุวัตถุประสงค์การดาวน์โหลดเอกสารท่านนำไปใช้งานด้านใด


  1. การวิจัย
  2. การเรียนการสอน
  3. การปฏิบัติงาน
  4. การเผยแพร่
  5. ความรู้ ความสนใจ
  6. การตัดสินใจเชิงนโยบาย
  7. การวางแผนธุรกิจ




  
รายการ Gallery หน้าหลัก    
วันที่ 12 มิถุนายน 2560 ( 12/มิ.ย./2560 )
    วันที่ 12 มิถุนายน 2560
เมื่อวันที่ 7 - 9 มิถุนายน 2560  ทีมนักวิจัย signature มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยพะเยา เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โครงการ “การพัฒนาศักยภาพบุคลากรในมหาวิทยาลัยเครือข่าย และสร้างระบบการวิจัยเชิงพื้นที่ กรณีศึกษา : การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากด้วยผลิตภัณฑ์พื้นถิ่นสู่การต่อยอดเชิงพาณิชย์” โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต อินณวงศ์ อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นผู้ให้การอบรมในครั้งนี้ โดยกิจกรรมทั้ง 3 วัน จะเป็นกิจกรรมที่เป็นการกำหนดเป้าหมายการวิจัย การวิจัยเชิงพาณิชย์ และการเขียนโครงร่างการวิจัย กิจกรรมจัดขึ้น  ณ ห้องประชุมพิชัยพรรณ อาคาร 12 เรือนต้นสัก สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
ภาพ/ข่าว : ศูนย์บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ.2560 ( 7/มิ.ย./2560 )
    วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ.2560
ผศ.ดร.เรืองเดช วงศ์หล้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ร่วมประชุมกับอาจารย์ปิยวรรณ ปาลาศ  อาจารย์ ดร.รดี ธนารักษ์ ผู้ช่วยอธิกาบดีฯ รศ.ดร.ฉัตรนภา พรหมมา ที่ปรึกษาศูนย์บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์ ดร.เสถียรภัคณ์ มุขดี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมด้วย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา หัวหน้าหน่วยจัดการงานวิจัยแต่ละคณะและทีมนักวิจัย เพื่อนำเสนอแนวทางการขับเคลื่อนการบริหารงานวิจัยและพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยอุตรดิตถ์กับสังคม ดังที่มหาวิทยาลัยได้กำหนดเป้าหมายการเป็นมหาวิทยาลัยพันธกิจสัมพันธ์กับสังคมที่ได้ต่อยอดขยายผลแนวทางการดำเนินงานจากอุตรดิตถ์โมเดลโดยนำหลักการของพันธกิจสัมพันธ์ (Engagement)  ทั้ง 4 หลักการ อันได้แก่ การมีส่วนร่วมแบบพันธมิตร (Partnership) การได้รับผลประโยชน์ (Mutual benefit) การเรียนรู้ร่วมกัน (Kmowledge chailing) และ เกิดการเปลี่ยนแปลงที่วัด/ประเมินได้ (Social impact) มาเป็นหลักในการปฏิบัติงานตามพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยนั้น เพื่อให้เกิดการดำเนินงานในเรื่องดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คณะทำงานจึงขอเสนอแนวทางการขับเคลื่อนการบริหารจัดการงานวิจัยและพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์กับสังคม
        1. การขับเคลื่อนงานพันธกิจสัมพันธ์ร่วมกับ สสส./สกว.
        2. การเสริมสร้างสมรรถนะบุคลากรวิจัยเพื่อการพัฒนาระบบบริหารจัดการงานวิจัยและพันธกิจสัมพันธ์
        3. การสร้างเครือข่ายพัฒนานวัตกรรมเพื่อท้องถิ่นเชิงพาณิชย์
ณ ห้องประชุมศูนย์บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์ อาคารเรือนต้นสัก สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
ภาพ/ข่าว : ศูนย์บูรณาการพันธกินสัมพันธ์  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
วันที่ 2 มิถุนายน 2560 แผนงานสวัสดิการฯ ( 2/มิ.ย./2560 )
    วันที่ 2 มิถุนายน 2560  แผนงานสวัสดิการฯ
อาจารย์ ดร.นิชภา โมราถบ ผู้อำนวยการแผนงานฯ ร่วมด้วยนักวิจัยในแผนร่วมประชุมเตรียมการรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการของแผนงานวิจัยการจัดสวัสดิการสังคมโดยชุมชนมีส่วนร่วม ภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ฯ โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  ณ  ห้องประชุมศูนย์บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์ อาคาร 12 เรือนต้นสัก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
ภาพ/ข่าว : ศูนย์บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
วันที่ 1 มิถุนายน 2560 แผนเกษตร ( 1/มิ.ย./2560 )
    วันที่ 1 มิถุนายน 2560
เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2560 ที่ผ่านมา อาจารย์ ดร.สิริวดี พรหมน้อย ผู้อำนวยการแผนงานฯ และทีมนักวิจัยภายในกลุ่มแผนงานวิจัยระบบเกษตรกรรมปลอดภัยเพื่อการพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน  ร่วมประชุมติดตามความก้าวหน้าและผลการดำเนินงานของโครงการย่อยภายใต้ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ณ ศูนย์บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ภาพ / ข่าว : ศูนย์บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
29 พฤษภาคม 2560 Signature ( 29/พ.ค./2560 )
    29 พฤษภาคม 2560
อาจารย์ปิยวรรณ ปาลาศ ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ร่วมประชุมทีมนักวิจัย Signature Product เพื่อสรุปการประชุมร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ภายใต้โครงการวิจัยเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากด้วยผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ของจังหวัดอุตรดิตถ์สู่การต่อยอดเชิงพาณิชย์ : กรณีศึกษาลางสาดจังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2560 ที่ผ่านมา รวมถึงเตรียมการเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  “งาน THAIFEX – World of Food Asia 2017”   ณ ห้องประชุมศูนย์บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์ อาคาร 12 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
ภาพ / ข่าว : ศูนย์บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
26 พฤษภาคม 2560 เอเชียแอร์พอร์ท ( 26/พ.ค./2560 )
    26 พฤษภาคม  2560
เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2560 ที่ผ่านมา ผศ.ดร. เจษฎา มิ่งฉาย รองอธิการบดี และคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ร่วมประชุมในฐานะทีมประสานกลางของโครงการฯ เพื่อเตรียมการนำเสนอความก้าวหน้าผลดำเนินงานและแผนปฏิบัติการรอบ 6 เดือน พร้อมรายละเอียดการจัดกิจกรรม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดการความรู้เพื่อเสริมพลังการขับเคลื่อนงานของเครือข่าย  ของคณะทำงานโครงการวิจัยและพัฒนาของเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มที่ 2 ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี และมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในการนี้ ที่ประชุมได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องของการทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่น ปัญหาอุปสรรคที่พบในการดำเนินงานรวมถึงแผนการดำเนินงานในระยะถัดไป ซึ่งจะนำไปสู่การสังเคราะห์โครงการวิจัยชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ต่อไป ณ โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ท ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี
ภาพ / ข่าว : ศูนย์บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
25 พฤษภาคม 2560 แผนสุขภาพฯ ( 25/พ.ค./2560 )
    วันที่ 25 พฤษภาคม 2560
รศ.ดร.ฉัตรนภา พรหมมา ที่ปรึกษาศูนย์บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์ ร่วมประชุมให้ข้อเสนอแนะ รวมถึงติดตามผลการลงพื้นที่ของกลุ่มแผนงานการจัดการสุขภาวะโดยชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเองแบบมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนตำบลเจดีย์ชัย องค์การบริหารส่วนตำบลบัวใหญ่และเครือข่าย ภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่ได้ลงพื้นที่ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลริม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน เมื่อวันที่ 8 – 9 พฤษภาคม 2560  ที่ผ่านมา ทั้งนี้ทางกลุ่มยังได้หารือแนวทางการจัดเวทีบทเรียนความสำเร็จและเทคนิกการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยมีผู้อำนวยการแผนและทีมงานนักวิจัยของแผนฯ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมศูนย์บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์ อาคาร 12 เรือนต้นสัก สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
 ภาพ / ข่าว : ศูนย์บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
24 พฤษภาคม 2560 การจัดงานทุเรียน ( 24/พ.ค./2560 )
    วันที่ 24 พฤษภาคม 2560
 การประชุมหารือเพื่อเตรียมความพร้อมและติดตามความก้าวหน้า “งานวันทุเรียนและความหลากหลายทางชีวภาพครั้งที่ 2” ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม 2560 โดยความร่วมมือของกลุ่มแกนนำในพื้นที่ และองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านด่านนาขาม มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการ นำเสนอของดีของตำบลบ้านด่านนาขาม ทั้งผลไม้ (ทุเรียน) อาหารพื้นบ้าน และสวนผลไม้แบบวนเกษตร ซึ่งในงานจะมีกิจกรรม - การประกวดทุเรียนพื้นเมืองและทุเรียน - การประกวดอาหารพื้นบ้านเมนูประจำถิ่น - การประกวดสวนวนเกษตร ฯลฯ โดยมีคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์  ช่วยหนุนเสริมการดำเนินงานของกลุ่มแกนนำและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การประชุมจัดขึ้น ณ ห้องประชุมผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
ภาพ / ข่าว : ศูนย์บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
24 พฤษภาคม 2560 ทันวิจัยฯ คณะมนุษยฯ ( 24/พ.ค./2560 )
    วันที่ 24 พฤษภาคม 2560
อาจารย์ปิยวรรณ ปาลาศ ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ร่วมให้ข้อเสนอแนะการพัฒนาทุนวิจัยพันธกิจสัมพันธ์ ปีงบประมาณ 2560 ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  นำโดย ผศ.ดร.สมบัติ เวชกามา คณะบดีฯ และทีมนักวิจัยภายในคณะ ณ ห้องประชุม ศูนย์บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์ อาคาร 12 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
ภาพ/ข่าว : ศูนย์บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
23 พฤษภาคม 2560 ( 24/พ.ค./2560 )
    เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2560 อาจารย์ปิยวรรณ ปาลาศ ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ และทีมนักวิจัย Signature Product ร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ประกอบด้วย พาณิชย์จังหวัดอุตรดิตถ์ เกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ พัฒนาการจังหวัดอุตรดิตถ์ วัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ หอการค้าจังหวัดอุตรดิตถ์ บริษัทชัยเจริญคอร์ปอเรชั่น จังหวัดอุตรดิตถ์ บริษัทศรีพงษ์กรุ๊ป มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ผู้ประกอบการร้านบ้านบนดอย อำเภอลับแล และเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกลางสาดอำเภอลับแล ร่วมประชุมเพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการและร่วมกำหนดโจทย์วิจัยภายใต้โครงการวิจัยเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากด้วยผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ของจังหวัดอุตรดิตถ์สู่การต่อยอดเชิงพาณิชย์ : กรณีศึกษาลางสาดจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ณ ห้องประชุมพิชัยพรรณ อาคารเรือนต้นสัก สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ภาพ / ข่าว : ศูนย์บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
กำลังแสดงหน้าที่ <- 20/41 -> [จำนวน 408 อัลบัม]
<< 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 >>