อัลบั้มภาพ : <p>วันที่ 14 พฤศจิกายน 2562 จังหวัดอุตรดิตถ์ ร่วมกับ ศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นำโดยนายธนากร อึ้งจิตรไพศาล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เรืองเดช วงค์หล้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทร์เพ็ญ ชุมแสง ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จัดประชุมชี้แจงโครงการปรับปรุงดินด้วยถ่านชีวภาพร่วมกับสารชีวภัณฑ์ ในพื้นที่วนเกษตรไม้ผลจังหวัดอุตรดิตถ์ ด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ณ ห้องประชุมศูนย์วิทยาศาศตร์แลเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ . ซึ่งโครงการนี้เกิดจากความร่วมมือของหน่วยงาน 3 ภาคีเครือข่าย ได้แก่ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จังหวัดอุตรดิตถ์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ โดยได้ดำเนินงานตามวิสัยทัศน์และยุทธ์ศาสตร์ของการพัฒนาจังหวัดอุตรดิตถ์ ดังที่ว่า “เมืองแห่งคุณภาพชีวิต ผลผลิตปลอดภัย การท่องเที่ยวพัฒนา การค้าชายแดนเติบโต” และเล็งถึงความสำคัญของประชาชนและชุมชนให้มีความเข้มแข็ง คุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อีกทั้งจังหวัดอุตรดิตถ์ยังเป็นเมืองแห่งผลไม้ที่หลากหลายชนิด ที่มีต้นทุนทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และพลังงาน มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และภูมิปัญญาของการเกษตรกร มีระบบวิถีการเกษตรแบบวนเกษตรไม้ผลที่มีชื่อเสียง จนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย (GI) จำนวน 3 สินค้า ได้แก่ สินค้าสับปะรดห้วยมุ่น สินค้าทุเรียนหลงลับแลอุตรดิตถ์ และสินค้าทุเรียนหลินลับแลอุตรดิตถ์ และในอนาคตมีแผนดำเนินการยื่นขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย อีก 4 สินค้า ได้แก่ ทุเรียนหมอนทองอุตรดิตถ์ มะขามหวานอุตรดิตถ์ กระเทียมน้ำปาด และมะม่วงหิมพานต์อุตรดิตถ์ ส่งผลให้มูลค่าทางเศรษฐกิจจังหวัดต่อปี ไม่ต่ำกว่าปีละ 5 พันล้านบาท แต่เนื่องด้วยลักษณะของการเพาะปลูกแบบวนเกษตรดั้งเดิมกำลังถูกเปลี่ยนมาเป็นระบบพืชเดี่ยว (Monoculture) มีการใช้ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืชเพื่อเพิ่มผลผลิต ด้วยสารเคมีมากขึ้น ผนวกกับลักษณะพื้นที่ปลูกเกือบทั้งหมดอยู่บนภูเขาสูง มีความเสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายและเกิดดินถล่มตลอดเวลา และดินมีความเป็นกรดสูง อีกยั้งมีเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเป็นจำนวนมาก . ดังนั้นจึงเล็งเห็นประโยชน์จากผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีอยู่มาส่งเสริมและพัฒนาเชิงพื้นที่ จึงเกิดเป็นโครงการ "การปรับปรุงบำรุงดินด้วยถ่านชีวภาพร่วมกับสารชีวภัณฑ์ ในพื้นที่วนเกษตรไม้ผลจังหวัดอุตรดิตถ์ ด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม" โดยได้ดำเนินการจัดอบรมฝึกอบรมให้ความรู้แก่เกษตรต้นแบบในการผลิตถ่านชีวภาพ (biochar) และถ่ายทอดองค์ความรู้ไปยังกลุ่มเกษตรอื่นๆ ต่อไป . สำหรับถ่านชีวภาพ หรือ ไบโอชาร์ (Biochar) มีการนำวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตร เช่น เปลือกทุเรียน ฟางข้าว ซังข้าวโพด กิ่งไม้ เป็นต้น ผ่านการกระบวนการด้วยเตาเผาถ่าน 200 ลิตร ที่มีความร้อนสูงประมาณ 400-800 องศาเซลเซียส ใช้ระยะเวลาการเผาที่รวดเร็ว สามารถนำถ่านชีวภาพไปใช้ในพื้นที่วนเกษตรไม้ผลจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้แก่ สวนทุเรียน ลองกอง มะขาม และมะม่วงหิมพานต์ ซึ่งคุณสมบัติของถ่านชีวภาพสามารถช่วยเพิ่มธาตุอาหารที่จำเป็นของพืชผล ทำให้ดินเกิดความชุ่มชื่น และสามารถลดปริมาณการใช้สารเคมีได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ทำให้จังหวัดอุตรดิตถ์มีผลผลิตด้านการเกษตรที่ปลอดภัยต่อไป ภาพ/ข่าว : ศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์</p>


อัลบัมทั้งหมด

 

 


ศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ | Science and Technology Center, URU.
เลขที่ 27 ถ.อินใจมี ต.ท่าอิฐ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ 53000
โทรศัพท์ 055-411096 ต่อ 1679 Line ID : @142yhgfh