[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
เมนูหลัก
Facebook
FacebookLink
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 4 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
สถิติผู้เยี่ยมชม

 เริ่มนับ 22/ต.ค../2558
ผู้ใช้งานขณะนี้ 1 IP
ขณะนี้
1 คน
สถิติวันนี้
1 คน
สถิติเมื่อวานนี้ี้
1 คน
สถิติเดือนนี้
20 คน
สถิติปีนี้
111 คน
สถิติทั้งหมด
222267 คน
IP ของท่านคือ 10.254.0.2
(Show/hide IP)
poll

   ระบุวัตถุประสงค์การดาวน์โหลดเอกสารท่านนำไปใช้งานด้านใด


  1. การวิจัย
  2. การเรียนการสอน
  3. การปฏิบัติงาน
  4. การเผยแพร่
  5. ความรู้ ความสนใจ
  6. การตัดสินใจเชิงนโยบาย
  7. การวางแผนธุรกิจ




  
รายการ Gallery หน้าหลัก    
>> วันที่ 20 กันยายน 2560 ( 20/ก.ย./2560 )

     วันที่ 20 กันยายน 2560
พิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) เพื่อสานพลังความร่วมมือ ภายใต้ “โครงการสานพลังเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้และความรอบรู้ด้านสุขภาวะ (Health Literacy)”ระหว่างสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  ร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ 9 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาและมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์  ร่วมด้วย อปท. คู่ความร่วมมือ และสำนักเขตพื้นที่การศึกษา โดยได้รับเกียรติจากท่านอธิการบดีทั้ง 9 แห่ง  นายกองค์การบริหารส่วนตำบล รวมถึงผู้อำนวยการกองการศึกษา และเขตพื้นที่การศึกษา เข้าร่วมในครั้งนี้
สำหรับการขับเคลื่อนงานพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้และความรอบรู้ด้านสุขภาวะ (Health Literacy) โดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง เป็นการขับเคลื่อนงานร่วมกันระหว่างสถานศึกษา กับ องค์กรท้องถิ่นคู่ความรวมมือภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน(สำนัก 3) และสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว(สำนัก 4) ร่วมกับเครือข่ายคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ 9 แห่ง ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่ผลิตครูเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอน และเพื่อสร้างครูที่มีความสามารถสอนให้นักเรียนในวัยประถมศึกษาสามารถเกิดทักษะอ่านออกเขียนได้เล็งเห็นว่าการอ่านและการเขียนได้เป็นปัญหาสำคัญระดับชาติ อีกทั้งมีความสำคัญและความจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาเป็นระดับชั้นอยู่ในวัยเริ่มเรียนที่ต้องมีพื้นฐานฐานการอ่านและการเขียนทางภาษาไทยที่ดี โดยเฉพาะการอ่านและการเขียนสะกดคำ เนื่องจากการเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ต้องใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร หากนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา อ่านและเขียนสะกดคาไม่คล่องจะทำให้การพัฒนาทางด้านการเรียนไม่ประสบผลสำเร็จ และส่งผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาวะของประชากรโดยภาพรวม  โดยมีเป้าหมายสำคัญในการดำเนินโครงการ คือ เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health literacy) ผ่านการเพิ่มขีดความสามารถด้านการอ่าน และเขียนภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และเพื่อให้เด็กนักเรียนกลุ่มเป้าหมายได้รับการพัฒนาให้อ่านออกเขียนได้ และนักเรียนทุกคนได้รับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยสูงขึ้นนำไปสู่การพัฒนาทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาวะ
ทั้งนี้ ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.เรืองเดช วงศ์หล้า  อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ร่วมหารือเพื่อชี้แจงบทบาทของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ร่วมกับอธิการบดี ทั้ง 9 แห่งที่เข้าร่วมโครงการ และคณะผู้บริหารจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  เพื่อสร้างความเข้าใจให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้การดำเนินโครงการเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและ สำเร็จลุล่วงอย่างมีประสิทธิภาพ
กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้น ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ ณ โรงแรมเซนทรา บายเซนทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร
ภาพ / ข่าว : ศูนย์บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  
โดย admin (VIEW : 123)
โดย admin (VIEW : 122)
โดย admin (VIEW : 118)
โดย admin (VIEW : 123)
โดย admin (VIEW : 129)
โดย admin (VIEW : 107)
โดย admin (VIEW : 114)
โดย admin (VIEW : 111)
โดย admin (VIEW : 107)
โดย admin (VIEW : 109)
โดย admin (VIEW : 108)
โดย admin (VIEW : 113)
โดย admin (VIEW : 112)
โดย admin (VIEW : 106)
โดย admin (VIEW : 106)
กำลังแสดงหน้าที่ 1/3 -> [จำนวน 34 รูปภาพ]
<< 1 2 3 >>